analyticstracking
หัวข้อ   “ เด็กไทยรุ่นใหม่ หัวใจสมาร์ทโฟน
                  เด็กไทยใช้สมาร์ทโฟนถึงร้อยละ 96.7 โดยร้อยละ 74.8 ระบุว่า มีสมาร์ทโฟนเป็นของตนเอง
        ทั้งนี้ร้อยละ 84.7 ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อดูหนังฟังเพลง รองลงมา ร้อยละ 78.5 ใช้เล่นเกม
                  เด็กไทยยังบอกว่าการใช้สมาร์ทโฟนทำให้ติดต่อสื่อสาร/แจ้งข่าวกับครอบครัวได้อย่างรวดเร็ว
        มีส่วนให้เกิดการสานสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เนื่องด้วยวันเสาร์ที่ 12 มกราคมนี้ ตรงกับวันเด็กแห่งชาติ กรุงเทพโพลล์
โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ได้สำรวจความคิดเห็นของเด็กๆ ในเรื่อง “เด็กไทย
รุ่นใหม่ หัวใจสมาร์ทโฟน”
โดยเก็บข้อมูลจากเด็กที่มีอายุ 6-14 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และ
ปริมณฑล จำนวน 1,052 คน พบว่า
 
                  เด็กไทยในปัจจุบันเล่นสมาร์ทโฟน/ไอแพด ร้อยละ 96.7 โดยใน
จำนวนนี้ร้อยละ 74.8 ระบุว่าเป็นเครื่องของตัวเอง และร้อยละ 21.9 ระบุว่าเป็นเครื่อง
ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ขณะที่มีเด็กเพียงร้อยละ 3.3 เท่านั้นที่ระบุว่า ไม่ได้เล่นสมาร์ทโฟน
/ไอแพด พ่อแม่ไม่ให้เล่น ที่มีอุปกรณ์ และไม่ชอบเล่น เป็นต้น
 
                  ทั้งนี้เด็กๆ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.7 ระบุว่าใช้สมาร์ทโฟน/ไอแพด
เพื่อดูหนัง/ฟังเพลง
รองลงมาร้อยละ 78.5 ระบุว่าใช้เพื่อเล่นเกม และร้อยละ 45.2
ใช้เพื่อหาข้อมูล/ความรู้ประกอบการเรียน
 
                  สำหรับการใช้เวลาอยู่กับสมาร์ทโฟน/ไอแพด ของเด็กๆ นั้น
ร้อยละ 37.0 ระบุว่าประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
รองลงมาร้อยละ 23.6 ระบุว่า
ประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 11.6 ระบุว่าประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน
 
                  ส่วนบุคคลที่เด็กๆ ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.5 มักจะขอคำปรึกษา เวลามีปัญหาเรื่องการใช้สมาร์ทโฟน
หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ คือ พ่อแม่/ผู้ปกครอง
รองลงมาร้อยละ 19.1 ระบุว่าค้นหาเองในกูเกิล และ ร้อยละ 14.1
ระบุว่าปรึกษาเพื่อน
 
                  เมื่อถามว่า “เด็กๆ ใช้สมาร์ทโฟน/ไอแพดเพื่อสานสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวในเรื่องใดบ้าง” ส่วนใหญ่
ร้อยละ 66.1 ระบุว่า ติดต่อสื่อสาร/แจ้งเหตุ/บอกเหตุได้อย่างรวดเร็ว
รองลงมาร้อยละ 53.5 ระบุว่าได้เห็นหน้าตากัน
โดยการคุยผ่านวีดีโอคอล และร้อยละ 37.9 ระบุว่าพูดคุยพร้อมกันได้ทีละหลายๆคน
 
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. การเล่นโทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน/ ไอแพดของเด็กไทยในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
เล่น
โดยระบุว่า...
เป็นเครื่องของตัวเอง/ส่วนตัว ร้อยละ 74.8
  เป็นเครื่องของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ร้อยละ 21.9
96.7
ไม่เล่น
โดยให้เหตุผลว่า พ่อแม่ไม่ให้เล่น ไม่มีสมาร์ทโฟน และไม่ชอบเล่นฯลฯ
3.3
 
 
             2. เด็กๆ ใช้โทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน/ไอแพดเพื่อ... (สามารถตอบได้มากกว่า 1 ตำตอบ)
                 

 
ร้อยละ
ดูรายการย้อนหลัง/ดูหนัง/ฟังเพลง
84.7
เล่นเกม
78.5
หาข้อมูล/ความรู้ประกอบการเรียน
45.2
เล่นfacebook/ ไลฟ์สด
45.1
คุยไลน์
42.1
อินสตาแกรม
22.2
อ่านข่าว/ตามข่าว
17.3
ติดตามดารา
15.7
อื่นๆ เช่นคุยโทรศัพท์ เล่นทวิตเตอร์ ฯลฯ
3.1
 
 
             3. เด็กๆ ใช้เวลาอยู่กับมือถือ/สมาร์ทโฟน/ไอแพด เฉลี่ยวันละ...
                 
                 
 
ร้อยละ
น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
10.0
ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
37.0
ประมาณ 3-4 ชั่วโมง
23.6
ประมาณ 5-6 ชั่วโมง
11.6
ประมาณ 7-8 ชั่วโมง
6.5
ประมาณ 9-10 ชั่วโมง
5.4
ประมาณ 10 ชั่วโมงขึ้นไป
5.9
 
 
             4. บุคคลที่เด็กๆ มักจะขอคำปรึกษา เวลามีปัญหาเรื่องการใช้สมาร์ทโฟนหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ
                 
                 
 
ร้อยละ
พ่อแม่/ผู้ปกครอง
65.5
ค้นหาเองในกูเกิล
19.1
เพื่อน
14.1
คุณครู
1.3
 
 
             5.เมื่อถามว่า “เด็กๆ ใช้สมาร์ทโฟน/ไอแพดเพื่อสานสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวในเรื่องใดบ้าง”
                 
                 
 
ร้อยละ
ติดต่อสื่อสาร/แจ้งเหตุ/บอกเหตุได้อย่างรวดเร็ว
66.1
ได้เห็นหน้าตากันโดยการคุยผ่านวีดีโอคอล
53.5
พูดคุยพร้อมกันได้ทีละหลายๆคน
37.9
บอกพิกัดให้กับผู้ปกครองว่าตอนนี้อยู่ตรงไหน
33.7
อื่นๆ เช่น ทำกิจกรรมต่างๆ ดูละครร่วมกัน ถ่ายรูป เปิดคลิปให้แม่เต้นออกกำลังกาย ฯลฯ
2.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเด็กอายุ 6 -14 ปี ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ
โดยสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน/ไอแพด ของเด็กๆ ในปัจจุบันเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเด็กให้ผู้ใหญ่
ในสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 6-14 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา– มัธยมศึกษาตอนต้น
ทั้งโรงเรียนในสังกัดรัฐบาลและสังกัดเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน
ชั้นกลางและชั้นนอกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมาย
ที่จะสัมภาษณ์ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,052 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.8 และเพศหญิงร้อยละ 50.2
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างโดยตรง (Face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 8-10 มกราคม 2562
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 12 มกราคม 2562
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
524
49.8
             หญิง
528
50.2
รวม
1,052
100.0
อายุ:
 
 
             6 – 8 ปี
286
27.2
             9 – 11 ปี
347
33.0
             12 – 14 ปี
419
39.8
รวม
1,052
100.0
การศึกษา:
 
 
             ประถมศึกษา
668
63.5
             มัธยมศึกษา
384
36.5
รวม
1,052
100.0
อาชีพ:
   
             รัฐบาล
844
80.2
             เอกชน
208
19.8
รวม
1,052
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776